วันพุธที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2559

Big John Jeans

Big John แบรนด์ยีนส์ที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน ซึ่งแต่ละรุ่นนั้นจะเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศญี่ปุ่นทั้งหมด มาเข้ามาให้เลือกกันหลายแบบหลายทรง ตามไปชมกันได้เลยครับ…
1
I WANT THIS!

เดิมที Big John เป็นแบรนด์ที่ผลิตชุดยูนิฟอร์มในประเทศญี่ปุ่นตั้งแต่ปี 1940 เสื้อผ้าของเขาจะออกไสตล์ Workwear หรือแนวทหารอเมริกันเพราะความนิยมในญี่ปุ่น ไม่นานนักยีนส์ได้รับความนิยมอย่างมากสมัยหลังสงครามโลกครั้งที่สอง วัยรุ่นชาวญี่ปุ่นเห็นทหารอเมริกันแต่งตัวโดยใส่ยีนส์ที่เขาไม่ค่อยได้รู้จักกันมาก่อนประกอบกับความนิยมอื่นๆจากอเมริกา เช่น James Dean ดาราที่นำยีนส์มาใส่และเป็น Idol ของวัยรุ่นทั่วโลก คนญี่ปุ่นหลายๆคนจึงเริ่มเก็บสตางค์ ซื้อของมือสองของทหารและ Big John ก็นำยีนส์มือสองมาขายเช่นกันแต่เพราะขนาดเอว, สะโพก มีความแตกต่างจึงต้องนำไปแก้เสียก่อน
1
I WANT THIS!

Big John ได้เริ่มซื้อผ้ายีนส์จาก Cone Mill ที่ทอผ้าให้ Levi’s มาตัดเย็บเองเพื่อให้ขนาดพอกับชาวญี่ปุ่น ครั้นเมื่อผ่านไปความต้องการของชาวญี่ปุ่นเติบโตขึ้นเร็วมากและจำนวนผ้าที่ Big John สั่งก็ขยายมากขึ้นทำให้ Levi’s สั่งทาง Cone Mill ให้หยุดส่งผ้าให้กับ Big John ทันที ทาง Big John เองจึงได้ร่วมมือกับโรงทอผ้า Kurabo ซึ่งหลังจากทอผ้าตัวอย่างมาถึง8ครั้ง (KD8->Kurabo Denim 8)ถึงจะได้ผ้าตัวที่ Big John พอใจ ซึ่งนอกจากจะเป็นผ้าตัวแรกของ Big John ที่ทอเองเย็บเองในญี่ปุ่น ยังเป็นยีนส์ตัวแรกที่ถือกำเนิดขึ้นในญี่ปุ่นด้วยและทาง Big John เองก็ยังใช้ผ้าตัวนี้ในคอลเล็คชั่นของเขาอยู่เช่นกันครับ
1
I WANT THIS!

ส่วน Big John ที่เราเคยเห็นกันอยู่ตามศูนย์การค้าทั่วไปนั้นจะเป็นการใช้ Licensed คือ เป็นการขอใช้ชื่อ Big John เท่านั้น ซึ่งการผลิตและเย็บจะทำในประเทศไทย เรื่องคุณภาพ ไม่ว่าจะเป็นการทอ การย้อม การตัดเย็บจะแตกต่างกันกับสินค้าที่ผลิตในญี่ปุ่นโดยสิ้นเชิงครับ


1ข้อมูลจาก http://prontodenim.com/








I WANT THIS!

The Flat Head Jeans

The Flat Head เป็นแบรนด์สัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งก่อตั้งโดย คุณ Masayoshi Kobayashi ในปี 1996 โดยตอนเริ่มก่อตั้งแบรนด์นั้น

ทางคุณ Kobayashi ได้นำกางเกงยีนส์เก่าสมัยปี 1920 -1960 มาแยกส่วนเพื่อวิเคราะห์ ทั้งในเรื่องการย้อม และการตัดเย็บ

เสื้อผ้าทั้งหมดในไลน์การผลิตนั้นจะ เป็นแนว คลาสสิคสไตล์ วัตถุดิบที่นำมาใช้ต้อมาจากแหล่งที่ดีที่สุดเท่านั้น รวมไปถึงช่างฝีมือก็ต้อง

เป็นช่างที่ฝีมือดีจริงๆ

ผ้าที่ทำมาใช้ตัดเย็บกางเกงนั้นจะถูกทอขึ้นมาด้วยเครื่องทอสมัยเก่าซึ่งวันนึงสามารถทอผ้าได้เพียงแค่ 50 เมตรเท่านั้น 

ในขณะที่การตัดเย็บกางเกงตัวหนึ่งนั้นก็ต้องใช้ผ้าถึง 3 เมตรแล้ว โดยสาเหตุที่ต้องใช้เครื่องทอสมัยเก่าก็เพราะว่าทางแบรนด์

ต้องการความเป็นวินเทจจริงๆ ซึ่งการทอโดยใช้เครื่องจักรสมัยใหม่นั้นไม่สามารถให้ความรู้สึกและสัมผัสแบบนี้ได้

ในเรื่องของการย้อมนั้นทางแบรนด์ก็มีวิธีการย้อมที่เป็นเอกลักษณ์ โดยจะทำการย้อม Indigo ให้จับอยู่บริเวณผิวเท่านั้น

ส่วนแกนกลางนั้นจะยังคงขาว ซึ่งทำให้การเฟดของ TFH นั้นจะมีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์

ปัจจุบันทางแบรนด์ได้ขยายไลน์การผลิตที่ค่อนข้างกว้าง โดยมีทั้งในส่วนของ Jacket T-Shirt Shirt ผลิตภัณฑ์เครื่องหนังต่างๆ รวมไปถึง

เครื่องเล่นเพลงทั้งหลายด้วย


เรื่องผ้าและทรงของแบรนด์นี้นั้น ถ้าใครศึกษาใหม่ๆอาจจะงงซักเล็กน้อย แต่สามารถทำความเข้าใจง่ายๆได้ดังนี้ครับ

ชนิดของผ้า

"1 Series" เป็นผ้าริม 16 oz. ซึ่งถือว่าเป็นผ้าที่หนา และแน่นที่สุดของแบรนด์ กางเกงทุกรุ่นที่รหัส ขึ้นต้นด้วยเลข 1 จะใช้ผ้าชนิดนี้ 

ตัวอย่างเช่น 1001 ,1005

"3 Series" เป็นผ้าริม 14.5 oz. กางเกงทุกรุ่นที่ขึ้นต้นด้วยเลข 3 หรือ Z3 ,F3 จะใช้ผ้าชนิดนี้ ตัวอย่างเช่น 3001 ,F310

"4 Series" เป็นผ้าริม 14.5 oz. สีดำ กางเกงทุกรุ่นที่ขึ้นต้นด้วยเลข 4 จะใช้ผ้าชนิดนี้ ตัวอย่างเช่น 4001

"5 Series" เป็นผ้าริม 14 oz. กางเกงทุกรุ่นที่ขึ้นต้นด้วยเลข 5 หรือ S5 จะใช้ผ้าชนิดนี้ ตัวอย่างเช่น S5001 

ทรงกางเกง 
** ปัจจุบันได้เลิกผลิตบางทรงไปแล้ว

กางเกง TFH นั้นจะแบ่งเป็น ซีรี่ย์หลักๆอยู่ 4 Series ซึ่งแต่ละ ซี่รี่ย์นั้นจะต่างกันที่ผ้า และดีเทลบางส่วน โดยในแต่ละซีรี่ย์ก็จะมีทรงต่างๆซึ่ง

บางทรงก็จะเป็นทรงเดียวกับอีกซีรี่ย์นึง

The Exceed Series ใช้ผ้า 16 oz.(1 Series) มีทรงต่างๆดังนี้

1001 เป็นยีนส์กระดุม ทรงกระบอกเล็ก
1005 เป็นยีนส์กระดุมทรงใกล้เคียง Levi's 501 ปี 1955 ทรงขาตรงออกไปทาง loose
1007 เป็นยีนส์กระดุม ทรงขาม้า

The Pioneer Series ใช้ผ้า 14.5 oz. (3 Series) มีทรงต่างๆดังนี้

3001 เป็นยีนส์ซิบ ทรงกระบอกเล็ก
3002 เป็นยีนส์กระดุม ทรงกระบอกเล็กที่จะเล็กกว่า 3001 (ส่วนที่ต่างชัดเจนจะอยู่ตั้งแต่เข่าลงมาถึงปลายขา)
3003 ทรงคล้าย Levi's รุ่น world war 2 แต่อาจจะมีหมุดน้อยกว่า
3005 เป็นยีนส์กระดุมทรงใกล้เคียง Levi's 501 ปี 1955 ทรงขาตรงออกไปทาง loose
3006 เป็นยีนส์ซิบ ไม่มีริม ทรงขากระดิ่ง ปลายขากว้างมาก 
3007 เป็นยีนส์ซิบ ทรงขาม้า
3008 และ 3009 เป็นยีนส์กระดุม ทรงใกล้เคียง Levi's 501 ปี 1966 ทรงขาตรง

The Frontier Series ใช้ผ้า 14.5 oz. (3 Series) คล้าย Pioneer Series (3xxx) เกือบทุกอย่าง ยกเว้น กระเป๋าหลัง และด้ายที่ใช้เย็บกางเกงเป็น Poly Cotton

ซึ่งจะทนทาน ไม่เปื่อยขาดง่ายเหมือน ด้ายCotton 100% ของ Pioneer Series รวมถึงลายปักที่ปักเป็นเส้นคู่ดูหนากว่า มีทรงต่างๆดังนี้

F310 เป็นยีนส์ซิบ ทรงกระบอกเล็ก
F350 เป็นยีนส์กระดุมทรงใกล้เคียง Levi's 501 ปี 1955 ทรงขาตรงออกไปทาง loose
F370 เป็นยีนส์ซิบ ทรงขาม้า
F380 เป็นยีนส์กระดุม ทรงใกล้เคียง Levi's 501 ปี 1966 ทรงขาตรง
F2001 เป็นยีนส์ซิบ ผ้า 16 oz. ทรงกระบอกเล็ก ** เป็นรุ่นใหม่เย็บแบบ F Series แต่เป็นผ้า 16 oz.

The Future Series ใช้ผ้า 14 oz. (5 Series) มีลายปักสีแดง เป็นตัวหนังสือ FH อยู่มุมกระเป๋าหลัง มีทรงต่างๆดังนี้

S5001 เป็นยีนส์กระดุม ทรงกระบอกเล็ก
S5005 เป็นยีนส์กระดุมทรงใกล้เคียง Levi's 501 ปี 1955 ทรงขาตรงออกไปทาง loose
S5003 เป็นยีนส์กระดุม ทรง Loose (ใหญ่ที่สุดของแบรนด์) และมีสาย clinch ที่เอว
S5007 เป็นยีนส์กระดุม ทรงขาม้า
5100 เป็นรุ่นฉลอง 10 ปี ยีนส์กระดุม ลายปักกระเป๋าหลังสีแดง มี Red Tab ทรงจะใหญ่กว่า 5005 เล็กน้อย

Other

4001 เป็นยีนส์ซิบ ผ้า 14.5 oz. ริมครึ่งเดียว สีดำ ทรงกระบอกเล็ก

FH Balders เป็นยีนส์ซิบ ผ้า 14.5 oz. ทรงสลิม สำหรับผู้หญิง

Fit Pics

1001





1005





3001









F310





3006





3007




S5001





FH Balders







ขอบคุณที่มา http://www.soul4street.com/

วันพุธที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2559

เรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Levi’s

  • กางเกงยีนส์ลีวายส์?Levi’s?ทุกๆ 10 ตัว จะมี 1 ตัวที่ป้ายสีแดงเป็นสีแดงล้วน แถมยังไม่มีคำว่า?Levi’s?แปะอยู่ด้วย ลองดูกางเกงยีนส์ Levi’s?ในตู้คุณดูนะคะ อาจจะเป็น 1 ในตัวนั้นก็เป็นได้!
  • เชื่อหรือไม่ว่า ลีไว สเตราส์ ไม่เคยใส่กางเกงยีนส์เลยในชีวิตของเขา ในปี ค.ศ. 1873 เป็นปีแรกที่กางเกง?Levi’s?ถูกผลิตขึ้น มันเป็นกางเกงสำหรับคนใช้แรงงาน ไม่ใช่กางเกงสำหรับนักธุรกิจ แต่สเตราส์ก็ยืนยันว่า กางเกงที่เขาผลิตขึ้นนั้นเป็นกางเกงที่มีคุณภาพเยี่ยม ถึงแม้ว่าจะเป็นกางเกงสำหรับใช้ทำงานแบกหามก็ตาม
  • ค.ศ. 1958?กางเกงยีนส์ลีวายส์?Levi’s?ออกกางเกงรุ่น Spikes เป็นกางเกงผ้าฝ้ายขัดมันสำหรับผู้ชายและเด็กผู้ชาย โดยมี 3 สี เหลืองมะนาว เขียว และส้ม โดยเป็นสีที่เหมือนกับขนมเจลาตินชื่อดังเป๊ะๆ
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ กางเกงยีนส์ ลีวายส์ Levi's teen.mhai
กางเกงยีนส์ Levi’s ที่มีฉายาว่า “XX” ตัวนี้ เป็นกางเกงยีนส์ที่เก่าแก่ที่สุดในโลก มันถูกผลิตขึ้นใน ค.ศ. 1879 มันถูกเก็บไว้ในเซฟที่กันไฟได้ที่บริษัท Levi Strauss & Co. ในซานฟรานซิสโก ราคาของมันสูงถึง 150,000 ดอลลาร์!
  • 1969 ปีของขากระดิ่ง! กางเกงยีนส์ลีวายส์?Levi’s ผลิตกางเกงยีนส์ขากระดิ่งออกมาครั้งแรกในปี 1969 เริ่มแรกมันทำจากผ้าเดนิม ต่อมาก็ทำจากผ้าหลากหลายชนิดต่างกันออกไป
  • ค.ศ. 1980 และ 1984?กางเกงยีนส์ลีวายส์?Levi’s?เป็นเครื่องแต่งกายอย่างเป็นทางการของการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก
  • ที่ตึกสำนักงานใหญ่ของ Levi’s ในซานฟรานซิสโก มีสถานที่ที่เรียกว่า The Vault มันเป็นพิพิธภัณฑ์ที่ที่ผู้เข้าชมสามารถเลือกชม กางเกงยีนส์ Levi’s รุ่นต่างๆที่ปรากฏอยู่ในภาพยนตร์เรื่องดัง หรือ กางเกงยีนส์ Levi’s ของดาราฮอลลีวูดชื่อดัง พิพิธภัณฑ์นี้ไม่เสียค่าเข้าชมใดๆ
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ กางเกงยีนส์ ลีวายส์ Levi's teen.mhai
Levi Strauss & Co. ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับผู้หญิง เรียกว่า รุ่น “Freedom-Alls”
  • ผลิตภัณฑ์ตัวแรกที่ Levi Strauss & Co. ผลิตขึ้นมาโดยเฉพาะสำหรับผู้หญิง เรียกว่า รุ่น “Freedom-Alls”เป็นชุดติดกันที่สามารถใส่ทำงานและเทียวเล่นได้ในเวลาเดียวกัน
  • ในสำนักงานใหญ่ของ Levi Strauss & Co. ในซานฟรานซิสโก มีฉนวนกันความร้อนที่ทำมาจากกางเกงยีนส์รีไซเคิลจำนวน?25,500 ตัว
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ กางเกงยีนส์ ลีวายส์ Levi's teen.mhai

ประวัติกางเกงยีนส์ลีวายส์ Levi’s

  • ค.ศ. 1853 (พ.ศ. 2396)?เป็นช่วงยุคตื่นทองในรัฐแคลิฟอร์เนีย จำนวนผู้คนที่ล้นหลามจากการมุ่งขุดหาทองที่แคลิฟอร์เนียทำให้ของใช้ประจำวันอยู่ในช่วงขาดแคลน
  • หนุ่มเยอรมันอายุ 24 ปีที่อพยพมาอยู่ในนิวยอร์ค ชื่อ ลีไว สเตราส์ (Levi Strauss) เขาออกจากนิวยอร์คเพื่อมุ่งสู่เมืองซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สเตราส์ตั้งใจที่จะมาเปิดสาขาร้านขายของชำของพี่ชายที่ซานฟรานซิสโก เพื่อรองรับลูกค้าผู้ตื่นทอง
  • ไม่นานหลังจากที่เสตราส์มาถึงซานฟรานซิสโก คนหาทองรายหนึ่งอยากรู้ว่าเสตราส์เปิดร้านค้าขายอะไร เมื่อสเตราส์บอกว่าเขามีผ้าใบที่ใช้สำหรับทำเต็นท์, ใช้คลุมเครื่องมือ?และผ้าใบคลุมท้ายรถบรรทุก?คนหาทองเลยบอกเขาว่า “คุณน่าจะทำกางเกงขายนะ!” โดยคนหาทองบอกว่า เขาไม่สามารถหากางเกงที่ทนทานพอสำหรับงานสมบุกสมบันได้?10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ กางเกงยีนส์ ลีวายส์ Levi's teen.mhai
  • เสตราส์ จึงใช้ผ้าใบที่เขามีตัดเป็นกางเกง ซึ่งคนงานเหมืองชอบกางเกงนี้มาก แต่ก็บ่นว่า กางเกงมักจะเป็นรอยถลอกได้ง่าย ลีไว สเตราส์ เลยเปลี่ยนจากการใช้ผ้าใบเป็นใช้ผ้าฝ้ายจากฝรั่งเศสที่เรียกว่า “เซิร์จ เดอ นิมส์ (Serge De Nims)” ต่อมา ผ้าชนิดนี้ เรียกกันว่า เดนิม และกางเกงแบบใหม่ที่สเตราส์ตัดนี้ ก็มีชื่อเรียกกันเล่นๆว่า บลู ยีนส์ (blue jeans)
  • ค.ศ. 1873?Levi Strauss & Company เริ่มออกแบบกางเกงให้มีกระเป๋า?สเตราส์และช่างตัดเสื้อ ชื่อ เดวิด จาคอบส์?(David Jacobs) ได้ร่วมกันจดสิทธิบัตร
  • สเตราส์ ค่อยๆพัฒนาเนื้อผ้า เปลี่ยนสีจากสีน้ำตาลแบบผ้าใบมาเป็นสีน้ำเงินเข้ม
    ออกแบบตะเข็บ กระเป๋า กระดุมและแผ่นป้าย
    ตอกหมุดลงบนกางเกงเพื่อเพิ่มความทนทานแข็งแรงให้กางเกง10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ กางเกงยีนส์ ลีวายส์ Levi's teen.mhai
  • วันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1873 สเตราส์และจาคอบส์ ก็ได้สิทธิบัตร เลขที่ 139,121 และในวันที่ 20 พฤษภาคมนี้ก็ถือว่าเป็นวันเกิดอย่างเป็นทางการของ บลู ยีนส์
  • โลโก้ของกางเกงยีนส์ลีไวส์ ที่เป็นรูปม้า 2 ตัว เริ่มใช้ใน ค.ศ. 1886 แถบสีแดงที่ติดอยู่กับกระเป๋าด้านหลังเริ่มมีขึ้นใน ค.ศ. 1936 เพื่อให้สังเกตได้แต่ไกลว่ากางยีนส์ตัวนี้เป็นของลีไวส์ ทั้งหมดถูกจดทะเบียนให้เป็น trademarks ของลีไวส์ และยังคงใช้อยู่จนถึงปัจจุบัน
10 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ กางเกงยีนส์ ลีวายส์ Levi's teen.mhai
คนรุ่นแรกๆที่ได้ใส่กางเกง Levi’s คือ กลุ่มคนใช้แรงงาน รวมทั้งคนงานเหมืองในรูปนี้ด้วย โดยรูปนี้ถ่ายที่แคลิฟอร์เนีย ในปี 1882
กางเกง Levi’s ถูกเรียกว่า overalls จนกระทั่งถึงยุค 60 มันจึงถูกเรียกด้วยคำที่ทันสมัยกว่า ว่า ยีนส์ (jeans)
ที่มา http://teen.mthai.com/variety/57014.html

วันพุธที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติ Jeans LEE

“Lee” กับการเดินทาง 125 ปี ของแบรนด์เดนิมอันเป็นตำนาน
 เวลานี้คำว่า “กางเกงยีนส์” ได้เดินทางมาถึงจุดที่มีผู้ผลิตก้าวเข้ามาเล่นในตลาดจากทั่วทุกมุมโลก ทั้งจากประเทศต้นฉบับอย่างอเมริกาหรือถ้าเป็นฝั่งเอเชียก็มีประเทศญี่ปุ่นเป็นแกนนำ รวมๆแล้วมีแบรนด์ยีนส์เกิดใหม่ออกมามากมายแทบจำชืกันไม่หมด แต่ถ้าเมื่อไรที่มีคนพูดถึงชื่อ  “Lee” พวกเขาคือหนึ่งในแบรนด์เดนิมชั้นนำระดับโลกที่อยู่ใน Top 5 ยีนส์ได้รับความนิยมโดยไม่ต้องสงสัย ถ้าเผื่อคนที่เคยใส่ Lee มานานแล้ว แต่ไม่เคยรู้เรื่องราวของพวกเขามาก่อน วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกับ Lee ผ่านไทม์ไลน์ช่วงเวลาต่างๆในประวัติศาสตร์เกิน 100 ปี ของพวกเขากัน
null
ปี 1889
นายเฮนรี่ เดวิด ลี (Henry David Lee) ในวัยอายุ 40 ปี ได้ก่อตั้ง ‘H.D. Lee Mercantile Company’ ขึ้นในเมือง Salina รัฐ Kansas ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ Lee ตอนนั้นไม่ใช่กางเกงยีนส์แต่อย่างใด ร้าน Lee คือร้านขายของชำขนาดใหญ่ (Mercantile)ที่เห็นได้เป็นปกติทั่วในอเมริกาสมัยนั้น ด้วยความตั้งใจของ Lee ภายในเวลาไม่ถึง 20 ปี ร้านได้กลายเป็นร้านที่ใหญ่ที่สุดในรัฐ หนังสือพิมพ์ถึงกับลงข่าวว่า “H.D. Lee คือชื่อที่ติดอยู่ในทุกปากของผู้คนแคนซัส และสินค้าของเขาก็อยู่บนชั้นวางของทุกครัวเรือน”
null
ปี 1910s
ในช่วง 10 ปีนี้ หลังจากที่ร้าน Mercantile ของ H.D. Lee ได้กลายเป็นร้านขายของชื่อดังครองใจผู้คนในรัฐไปแล้ว เขาขยับมาต่อที่เรื่องของเสื้อผ้าที่ผู้คนใช้ใส่ทำงานกันบ้าง ริเริ่มผลิตชุดเอี๊ยม “Bib Overall” แต่ยังไม่ฮิตติดตลาด จนมาถึงตอนที่ “Union-All” ชุดที่เย็บติดระหว่างแจ๊คเกตและกางเกงยีนส์ถูกนำเข้าตลาด (บ้านเราบางคนอาจจะเรียกชุดหมี ชุดช็อป ชุดช่าง Jumpsuit หรืออะไรก็แล้วแต่) ไม่นานไอเทมเดนิมทั้งสองชิ้นได้ครองใจผู้คนและกลายเป็นยูนิฟอร์มของคนทำงานช่างไปเลย โอกาสนี้ Lee จึงตัดสินใจเปิดแบรนด์เสื้อผ้าของตัวเอง โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนคือเป็นผู้ผลิตกางเกงยีนส์และแจ๊คเก็ตยีนส์โดยเฉพาะ (จวบจนถึงปัจจุบันชุดเอี๊ยมและชุดหมีของ Lee ก็ยังคงความเอกลักษณ์ประจำของแบรนด์)
null
ปี 1920s

ธุรกิจเสื้อผ้าของ Lee กำลังไปได้สวย พวกเขามีโรงงานผลิตของตัวเอง และขยายสาขารวมถึงมีโกดังเก็บของอยู่ที่ San Francisco และ Los Angeles จะบอกว่ายุค 20’s คือช่วงเวลาที่กางเกงยีนส์ Lee พัฒนาแบบก้าวกระโดดก็คงไม่ผิด เริ่มจากการเปิดตัวตุ๊กตาเด็กผู้ชายหน้าหวาน แต่งตัวแบบคาวบอย “Buddy Lee” (คนเก็บของวินเทจคงรู้จักกันดี) มาเป็นมาสค๊อตใช้เพื่อการโฆษณาของพวกเขา ถิอเป็นเจ้าแรกๆเลยก็ว่าได้ที่มีการนำตัวละครสมมุติมาใช้พูดในแบรนด์เสื้อผ้า (ในช่วงยุค 90’s Buddy Lee ยังถูกนำกลับมาเป็นโฆษณาชุดดังที่นำเสนอไอเดียว่ากางเกง Lee ใส่ทนซะจนตกน้ำไม่ไหล ตกไฟไม่ไหม้ ใครเกิดยุคนั้นน่าจะเคยเห็นกัน) ในปี 1924 Lee เปิดตัว “101 Jeans” กางเกงยีนส์ที่พวกเขากล้าออกปากเลยว่าเป็น “ยีนส์สำหรับคาวบอย” เป็นกางเกงยีนส์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก และตอกย้ำด้วยคิดค้นการใส่ซิปลงในกางเกงยีนส์ (เป็นเจ้าแรก) ใช้ชื่อว่า “WHIZ IT” ทำให้คนใส่รู้สึกสบาย ถอดเข้าถอดออกก็ง่าย Lee เลยได้เครดิตจากฟังก์ชั่นนี้ไปเต็มๆ แต่น่าเสียดายที่ในปี 1928 นาย H.D. Lee ก็ได้เสียชีวิตลงจากโรคหัวใจ
ปี 1930s
ถึงแม้ H.D. Lee จะจากไป แต่แบรนด์ Lee ไม่ได้หยุดตัวลงแต่อย่างใด (หลานเขยเข้ามาคุมงานต่อ) พวกเขาขยับตัวต่อด้วยการผลิตกางเกงรุ่น Rider Pants ที่ทำให้เข้าถึงตลาดในซาน ฟรานซิสโกมากขึ้น เป้าหมายก็ยังคงเป็นบรรดาคาวบอยทั้งหลาย และเริ่มผลิตป้าย “Hair-on-Hide” ป้ายขนที่สามารถสอดเข็มขัดได้เป็นเอกลักษณ์ของ Lee ที่คนใส่ยีนส์ทุกคนรู้จักกันดี เป็นครั้งแรก
null
ปี 1940
Lee เดินทางมาถึงจุดที่พวกเขาเชื่อว่าเสื้อผ้าของแบรนด์ไปได้สวย และตัดสินใจยกเลิกธุรกิจร้านขายของชำที่เป็นต้นกำเนิดของแบรนด์ออกไป กลับมาที่เรื่องของเสื้อผ้า นี่คือช่วงแรกที่กางเกงยีนส์ Lee มีสัญลักษณ์ “Lazy S” ปรากฎอยู่บนกระเป๋า (การเดินด้ายบนกระเป๋าหลังทั้ง 2 ข้าง มองแล้วคล้ายการ์ตูน “Long Horn”)  แน่นอนว่าในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ Lee ต้องขยับตัวด้วยเหมือนกัน จากที่เคยผลิตเสื้อผ้าสำหรับคนทำงาน เมื่อประเทศมีสงคราม “คนทำงาน” กลายมาเป็นบรรดาแม่บ้านผู้หญิงทั้งหลาย Lee จึงคิดค้นรุ่น “Lady Lee Riders” กางเกงยีนส์ที่ขึ้นชื่อว่า Fitting ได้สวยเข้ากับสรีระผู้หญิงที่สุดในเวลานั้น
ปี 1950s
เอาล่ะ มาถึงยุค Baby Boomer หลังสงครามโลกกันแล้ว นี่คือช่วงเวลาที่กางเกงยีนส์ของหลายๆแบรนด์กำลังจะเข้ามามีบทบาทครั้งใหญ่ในโลกของแฟชั่น ซึ่ง Lee เองก็แสดงตัวตนออกมาได้อย่างสวยงาม เมื่อไอคอนของ Hollywood อย่าง เจมส์ ดีน หยิบเอากางเกงยีนส์ Lee มาใส่ให้คนเห็นกัน ในภาพยนตร์เรื่องดัง “Giant” และ “Rebel Without a Cause” เป็นจุดเริ่มต้นการแต่งกายแบบ Biker Style นักบิด แสดงความแหกคอกและตัวตนแบบเด็กมีปัญหา (ถึงขั้นบางโรงเรียนในอเมริกาห้ามใส่ยีนส์กันเลยทีเดียว) แต่นั่นยิ่งทำให้ยีนส์ Lee กลายเป็นไอเทมหลัก ประมาณว่าถ้าอยากเท่ต้องหามาใส่ พร้อมทั้งเปิดตลาดชุดลำลองด้วยการเล่นคำ “Leesures” มีคอนเซปต์หลักที่เป็นวลีติดหูกันดี “Work & Play” ทำให้เข้าถึงตลาดได้กว้างมากขึ้น
null
ปี 1960s
จากการเกิดขึ้นของวัฒนธรรมที่ชัดเจนอย่าง Baby Boomer โลกแฟชั่นเคลื่อนตัวไปแบบเปลี่ยนยุคต่อยุค ประจวบเหมาะกับเป็นช่วงเวลาที่กางเกงยีนส์เป็นของที่วัยรุ่นทุกคนเริ่มให้ความสนใจ ในแง่ธุรกิจ Lee กำลังเจริญเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว พวกเขามีโรงงานอยู่ทั่วอเมริกา และเริ่มขยับขยายไปต่างประเทศ (ที่แรกคือประเทศเบลเยี่ยม) จนเมื่อ Lee ตัดสินใจร่วมมือกับเครือใหญ่อย่าง VF Corp., พวกเขาก็เข้าถึงตลาดโลกได้มากขึ้น (กว่า 50 ประเทศทั่วโลก)
ปี 1980s
ลากยาวมาจนถึงยุค 80’s บัดนี้ Lee คือแบรนด์ยีนส์ที่ติดตลาดทั่วโลกเรียบร้อยแล้ว และการมาถึงของคอมพิวเตอร์ ก็มีบทบาทกับ Lee ไม่น้อย ทำให้พวกเขามีประสิทธิภาพทางการผลิตที่สูงกว่าเดิม
ปี 2000s
จากช่วงปี 90’s เมื่อ Lee ย้ายมาที่สาธารณรัฐประชาชนจีน และทำให้พวกเขาเติบโตขึ้นอย่างมหาศาลในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก (นี่คงเป็นช่วงเวลาที่บ้านเราเริ่มมี Ad และแคมเปญต่างๆของ Lee ออกมาให้เห็นกัน) และกลายมาเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่มีบทบาทสำคัญที่ในมิภาคนี้ พร้อมกับการเปิดตัวแฟลกชิพสโตร์แห่งแรกในทวีปเอเชีย ย่าน Causeway Bay (ฮ่องกง) ถือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้หลงใหลเดนิมในภูมิภาคนี้ ได้มาสัมผัสกับโลกแห่งความพิเศษสุดที่ยีนส์ Lee ภูมิใจนำเสนอ
null
ปี 2014 
ไล่มาตั้งนาน นี่มันปีปัจจุบันแล้วนี่! 2014 ถือเป็นปีสำคัญของแบรนด์ Lee กับการเฉลิมฉลองครบรอบ 125 ปี จากการสั่งสมจิตวิญญาณที่เต็มไปด้วยความหลงใหลใคร่รู้ที่มีให้กับกางเกงยีนส์ของพวกเขา ในทุกวันนี้ Lee ยังคงมี Movement ใหม่ๆออกมาอยู่เสมอๆ นอกจากไลน์การผลิตเกรด Premium ที่ชื่อ “Lee 101” เจาะตลาดกลุ่มบน หรือจะเป็นงาน Collaboration อันน่าตื่นตาตื่นใจ ล่าสุดนี้ก็จับมือกับเจ้าพ่อดีไซน์เนอร์ฝั่งสตรีทอย่าง “Nigo” (เจ้าของ  A Bathing Ape) ทั้งหมดนี้คือบทสรุปที่เรากล้าพูดได้เลยว่า Lee คือหนึ่งในแบรนด์ยีนส์ที่ทั่วโลกยอมรับเป็นอันดับต้นๆ และยังไม่หยุดที่จะพัฒนาตำนานบทนี้ไปเรื่อยๆอย่างไม่มีที่สิ้นสุด

เครดิตจาก http://www.dooddot.com/lee-125-anniversary/

วันพุธที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2559

ประวัติ Momotaro Jeans

ประวัติ Momotaro Jeans


brand ที่ขึ้นชื่อเรื่องการใส่ใจในการผลิตแบบทุกขั้นตอน แบบ Handmade
เพื่อให้ได้ยีนส์ที่มีคุณภาพสูงสุดอย่าง Momotaro นั้น
มี ต้นกำเนิดมาจาก แถบโคจิม่า เมืองโอกายามา จังหวัดโอกายามา ภูมิภาคชุโกกุ
ซึ่งตั้งอยู่ทางใต้ของกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น





ในฤดูใบไม้ผลิของปี 2007 "Momotaro Jeans" ได้ถือกำเนิดขึ้น
จากความตั้งใจ ของ Hisao Manabe ประธานบริษัท RAMPUYA ในเครือ Japan Blue Group
(RAMPUYA เป็นหนึ่งในบริษัทที่ผลิตผ้ายีนส์ได้ดีที่สุดในประเทศญี่ปุ่น
ซึ่ง 80% ของแบรนด์ญี่ปุ่นจะใช้บริการโรงงานนี้ให้ผลิตผ้า
และยังมีชื่อเสียงใน เรื่องย้อม Natural Indigo Blue อีกด้วย)





Manabe ต้องการจะผลิตและสร้างสรรค์ผ้ายีนส์ที่มีคุณภาพสูงด้วยวัตถุชั้นดี
ตลอด จนเลือกขั้นตอนต่างๆในการผลิตเอง เช่น เส้นด้าย สี เส้นใยผ้า รูปแบบการทอ
การ ตัดเย็บด้วยจักรที่ต้องใช้ทักษะชนิดแบบพิเศษ และการซักล้างหลังการตัดเย็บ
โดย ตั้งชื่อแบนด์ว่า Momotaro Jeans
(เขาตั้งใจตั้งชื่อตามพระเอก ในนิทานพื้นบ้านโบราณของญี่ปุ่นซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของเมืองโอกายามา)





ผ้ายีนส์ของ Momotaro ผลิตด้วยเทคโนโลยีที่ได้รับการพัฒนากระบวนการต่างๆ
จน ทำให้ผ้ายีนส์คุณภาพสูง ด้วยการศึกษาและติดตามเรื่องยีนส์มาหลายทศวรรษ
Manabe จึงเลือกฝ้ายซิมบับเวเป็นวัตถุดิบ
(RAMPUYA เป็นเจ้าแรกๆของโลก ที่นำ Zimbabwe Cotton มาใช้ทอผ้า Jeans)





ทุกเส้นด้ายจาก ยีนส์ Momotaro ผลิตจาก Zimbabwe Cotton
ฝ้ายที่มีเส้นใยที่ มีคุณภาพและให้ความเงาสูง เนื่องจากไม่มีสิ่งสกปรกเจือปน
เครื่องมือเก็บ เกี่ยวที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อความสมบูนณ์ของฝ้าย
ดินในแอฟริกา ยังช่วยให้ผ้าสะอาดมาก ทำให้คงความขาว ซึ่งช่วยให้การดูดซึมสีดีมาก
และ จากการประเมิน การใช้งานจริงทั่วโลกต่างยอมรับว่า
มันเป็นเส้นใยที่เหมาะ สำหรับการผลิตผ้ายีนส์คุณภาพสูงจริงๆ





สีย้อมของ "Momotaro Jeans" Manabe ก็ได้คิดค้นขึ้นมา โดยใช้คอนเซ็ปท์ว่า
ไม่ ต้องการให้ซึมติดถึงเนื้อผ้า และทำให้มันเป็นความภูมิใจของญี่ปุ่น
เขานำ ผ้าญี่ปุ่นเทคนิคการย้อมผ้าโบราณของญี่ปุ่นมาพัฒนาให้จนได้ สีเขียว สีน้ำเงิน
ซึ่งเขาให้ชื่อว่า "Japan Blue TM" ซึ่งให้สีที่มากกว่าฟ้าไหนๆที่เคยมีมา





Manabe สร้างสีที่ได้ชื่อว่า เป็นกระบวนการสำคัญที่สุดของการย้อมยีนส์
ปัจจุบัน สีนี้เป็นที่รู้จักกันดีไปทั่วโลก
(สีฟ้าของ Rampuya ได้รับเลือกจากสื่อ"สีของญี่ปุ่น" ขณะที่"สีเยอรมัน"เป็นสีแดงของ Porsche)





Momotaro เลือกการย้อมสีแบบแฮนด์เมด คือใช้มือในการย้อมสีโดยตรง ซึ่งทำโดยช่างเทคนิคผู้ชำนาญ
ในห้องที่เรียกว่า ห้องศิลปะ ในโรงงานของเขาเท่านั้น
โดยจะจุ่มเส้นด้ายแต่ละเส้น ในของเหลวสีครามธรรมชาติ (Nature Indio Blue)
โดยค่อยๆ ใช้มือถูเส้นด้ายเพื่อให้สีย้อมเส้นใยแต่ละเส้น จากนั้นก็นำไปล้างด้วยน้ำ และตากแห้งในดวงอาทิตย์





างฝีมือจะทำการย้อมซ้ำอีกครั้ง และอีกครั้ง
จนค่อยๆกลายเป็นสีเข้ม (ทำซ้ำมากกว่าสามสิบครั้ง)
ซึ่งทั้งหมดนี้ใช้เวลาประมาณ3-6เดือน จึงจะได้สี Japan Blue TM สำหรับ Momotaro Jeans




หลังจากนั้น ก็นำไปทอกับเครื่องทอแบบโบราณ ซึ่งเรียกว่ากระสวยเครื่องทอผ้า
และ ในแต่ละวัน จะสามารถทอผ้ายีนส์ชนิดนี้ได้แค่ 3 หลา นั่นหมายความว่า 1วันทำได้แค่1ตัวเท่านั้น
แต่ก็ได้ผลลัพธ์ที่คุ้มค่า เพราะผ้าที่ได้จะเนื้อดี มีผิวเนียนเรียบ นุ่นสวมใส่สบาย สีไม่ตก





หลังจากนั้นจะตัดเย็บด้วย "Union Special Sewing Machine"
ซึ่ง เป็นจักรเก่าแก่ และหาได้ยากมากในปัจจุบันนี้
หลังจากการตัดเย็บเสร็จจน ได้ยีนส์ที่ต้องการแล้ว ก็จะนำไปล้างด้วยน้ำจากทะเลเซโตะ
ซึ่งมีเกลือจาก ธรรมชาติอีกหลายครั้ง ที่ช่วยให้กางเกงหดถึงขีดสุด ก่อนที่จะนำออกมาจำหน่าย
(ว่า กันว่าน้ำทะเลจากเกาะเซโตะ เป็นน้ำที่มีแร่ธาติที่ช่วยรักษาสภาพสี Indigo ได้ดีที่สุดในญี่ปุ่น)
และซึ่งการล้างหลายครั้งนี้ จะช่วยทำให้ผ้าสามารถสะท้อนสีต่างๆ จากโคมไฟที่แตกต่างอีกด้วย

เห็นแล้วทำให้รู้สึกเลยนะครับ ถึงความพิถีพิถัน คุณค่า และระยะเวลาของยีนส์
จากยีนส์ที่หลายๆคนเคยคิดว่าแค่กางเกงที่ใส่ทน พอมาได้รู้ขั้นตอนการผลิต การสรรสร้าง
ผมนี่มองเป็น ผลงานศิลปะไปทีเดียวเชียว แถมจุดเริ่มต้นของยีนส์แต่ละตัวจริงๆนั้น
ยีนส์จะเริ่มมีความเป็นไปก็ต่อเมื่อ "คุณเริ่มใส่ เริ่มใช้ชีวิตร่วมกันไปกับยีนส์ตัวนั้นๆของคุณ"
เครดิตจาก http://www.soccersuck.in.th/boards/topic/889502