

ในปี 1920 กางเกงยีนส์ Levi’s 501 ได้เปลี่ยนมาใช้ผ้าจาก Cone Mills ที่ผลิตจากเมือง Greensboro รัฐ North Carolica ซึ่งสามารถผลิตผ้าได้ดีเหมือนอย่างรุ่นที่ Levi’s ใช้ผ้าจาก Amoskeag ซึ่งตอนปลายปี 20s ทาง Cone Mills ได้เปลี่ยนน้ำหนักผ้ามาเป็น 10oz มีริมผ้าโดยใช้เส้นด้ายสีแดงเพื่อเพิ่มเอกลักษณ์จนทำให้ Levi’s 501 เริ่มมีจุดสังเกตที่เด่นชัดมากขึ้นในที่สุด ซึ่งรหัส “01” คือรหัสที่จัดขึ้นมาเฉพาะสำหรับกางเกงยีนส์ที่ผลิตด้วยผ้าจาก Cone Mills เท่านั้น (ในยุคสมัยนั้น) ซึ่งมีริมแดง (ถูกพับโชว์ริมกางเกงเวลาใส่ก่อนทำการแช่น้ำ) เป็นเอกลักษณ์ของ Levi’s

กางเกงยีนส์ในสมัยนั้นยังคงถูกผลิตเพื่อใช้งานในเหมือง เหล่า Cowboys และงานที่ต้องใช้แรงงานสูง จนก้าวมายังปี 1930-1940 ทาง Levi’s ก็ได้เพิ่มรายละเอียดอย่าง Red Tab (แถบสีแดงข้างกระเป๋าขวา) ซึ่งเพิ่มมาครั้งแรกในปี 1937 นอกเหนือจากลายกระเป๋าหลังและริมแดง และในปีนี้ก็ได้ปรับให้กางเกงยีนส์ตอกหมุดโลหะแบบซ่อน Hidden Rivets เพราะการตัดเย็บแบบโชว์หมุดโลหะทำให้เครื่องเรือนในบ้านอย่างโซฟาพัง เนื่องจากมันทนเหลือเกิน และกระดุม Suspender ก็ได้ถูกตัดออกจากตัวกางเกงอย่างถาวร

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทาง Levi’s ได้ถูกจำกัดวัสดุในการผลิตกางเกงเนื่องจากต้องนำเอาวัตถุดิบที่ดีส่วนผสมอย่างโลหะไปทำอาวุธ และด้ายที่เป็นการตกแต่งต้องถูกยกเลิกเพื่อเอาไปตัดเย็บชุดทหาร ทำให้หมุดตรงช่องใส่นาฬิกาถูกยกเลิก หมุดบริเวณเป้ากางเกงและสายรัดด้านหลังก็หายไปเช่นกัน แถมที่ร้ายที่สุดคือด้ายที่ใช้เย็บลายกระเป๋าหลังก็หายไปเช่นกัน แต่ทาง Levi’s ก็แก้ปัญหาด้วยการพิมพ์ลายกระเป๋าหลังแทน ซึ่งถือว่าเป็นปีที่มีเอกลักษณ์มากที่สุดและมีเรื่องราวมากที่สุดรุ่นหนึ่งเลยทีเดียว

พอเข้าปี 1947 ทาง Levi’s ได้ผลิตกางเกงยีนส์รุ่นที่เรียกได้ว่าเป็น “Modern 501” ด้วยทรงที่เล็กกว่าปกติ และการเย็บลายกระเป๋าหลังด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้นคือ Double Needle Machines เพื่อให้ได้กระเป๋าหลังที่มีลายสวยกว่าอดีต และเอาสายรัดกางเกงด้านหลังออก ซึ่งถือว่าเป็นจุดเริ่มต้นของกาเกงยีนส์ยุคใหม่อย่างสมบูรณ์แบบ (และถือว่าเป็นรุ่นที่ยอดนิยมที่สุดทั้งในและต่างประเทศ) พอเข้าสู่ยุค 50s ก็เริ่มเป็นที่นิยมจนกลายเป็นเครื่องแบบในภาพยนต์จอเงิน และถูกใส่โดยคนดังอย่าง Gary Cooper / John Wayne / Marlon Brando หรือแม้กระทั้งJames Dean
จนถึงปี 1966 ทาง Levi’s ก็ได้นำเอาหมุดโลหะที่ตอกซ่อนไว้ออก เพราะเจ้าหมุดโลหะเจ้ากรรมก็ยังคงแข็งแรงจนทะเลผ้ายีนส์ออกมาทำลายข้าวของในบ้านอยู่ดี และแทนที่ด้วยการเย็บแบบ Bar Tack เพราะการเย็บแบบนี้แข็งแรงทนทานพอที่จะใช้แทนหมุดได้ (ต้องขอบคุณเทคโนโลยีจริงๆ) จนเข้าสู่ปี 1971 ทาง Levi’s ก็ได้เปลี่ยนรูปแบบอีกครั้งคือเปลี่ยนคำที่อยู่ใน Red Tab จาก LEVIS เป็นตัว “e” เล็ก จนเป็นที่มาของคำว่า “Big E”
ถึงแม้ว่าจะผ่านมากกว่า 140 ปี กางเกงยีนส์ก็ยังคงอยู่ในตู้เสื้อผ้าของผู้ชายไม่ว่าจะกี่ยุคกี่สมัย ถึงแม้แบรนด์อื่นๆ จะเริ่มมีบทบาทเข้ามาในวงการมากขึ้น แต่ต้นกำเนิดอย่าง 501 ก็ยังคงถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นแม่บทไม่ว่าจะเป็นปี 1947 / 1954 / 1955 ซึ่ง MDs’ จะหยิบข้อมูลมานำเสนอให้ทุกท่านได้อ่านกันนะครับ แต่ที่แน่ๆ ถ้าใครอยากเริ่มเล่นกางเกงยีนส์สาย Vintage จริงๆ ต้องเริ่มที่นี่ครับ “Levi’s Vintage Clothing” หรือที่เรียกว่า “LVC” นี่แหละ สุดทางที่สุด
ขอบคุณที่มา http://www.mendetails.com/